เดิมสมัยก่อน ชุมชนบ้านหินดาด เป็นหมู่บ้านของชาวกะเหรี่ยงเก่า ซึ่งอาศัยอยู่ก่อน แต่ด้วยสภาพพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ ภูมิประเทศที่อุดมสมบูรณ์ซึ่งประกอบด้วย แม่น้ำแควน้อย ลำห้วย ซึ่งมีน้ำไหลตลอดปีจึงทำให้มีผู้คนจากที่ต่างๆ อพยพเข้ามาประกอบอาชีพ ทำการเกษตรเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนถึงปัจจุบันนี้
ความหมายของตราสัญลักษณ์
- บ่อน้ำร้อน หมายถึง แหล่งท่องเที่ยวน้ำพุร้อนหินดาดที่มีชื่อเสียง
- ต้นไม้ หมายถึง มีอณาเขตเป็นพื้นที่ป่าไม้จำนวนมาก
- งอบ หมายถึง ประชาชนส่วนใหญ่มีอาชีพทางการเกษตร
- ตึก หมายถึง ภาคอุตสาหกรรมในพื้นที่เป็นอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
- ลูกศรทิศทางชี้ขึ้น หมายถึง ความเจริญรุ่งเรองของภาคเกษตรกรรมและภาคอุตสาหกรรม
แบบสี
1. บ่อน้ำพุร้อนสีฟ้าอ่อนสลับสีเทา
2. ต้นไม้ใบสีเขียวอ่อนต้นสีน้ำตาล
3. งอบสีเหลืองแก่
4. ตึกสีเหลืองอ่อน
5. ลูกศรสีแดงสด
6. ขอบสัญญาลักษณ์สีขาว
ข้อมูลหมู่บ้าน | จำนวนครัวเรือน | จำนวนผู้ชาย | จำนวนผู้หญิง | รวมประชากร |
หมู่ที่ 1 บ้านวังหิน | 265 ครัวเรือน | 350 คน | 316 คน | 666 คน |
หมู่ที่ 2 บ้านหม่องกะลา | 393 ครัวเรือน | 629 คน | 574 คน | 1,203 คน |
หมู่ที่ 3 บ้านดาดตะวันตก | 207 ครัวเรือน | 238 คน | 248 คน | 486 คน |
หมู่ที่ 4 บ้านหนองพลู | 145 ครัวเรือน | 218 คน | 200 คน | 418 คน |
หมู่ที่ 5 บ้านหินดาดตะวันออก | 829 ครัวเรือน | 663 คน | 613 คน | 1,276 คน |
หมู่ที่ 6 บ้านกุยมั่ง | 354 ครัวเรือน | 311 คน | 314 คน | 625 คน |
หมู่ที่ 7 บ้านดงโคร่ง | 207 ครัวเรือน | 280 คน | 257 คน | 537 คน |
หมู่ที่ 8 บ้านวังผาตาด | 280 ครัวเรือน | 431 คน | 374 คน | 805 คน |
ข้อมูลรวม | 2,680 ครัวเรือน | 3,120 คน | 2,896 คน | 6,016 คน |
ที่ตั้งและอานาเขตติดต่อ
ตำบลหินดาดตั้งอยู่ทางทิศตวันตกตามแผนที่ประเทศไทย มีระยะทางห่างจากตัวอำเภอทองผาภูมิ 23 กิโลเมตร อยู่ห่างจากจังหวัดกาญจนบุรี 122 กิโลเมตรโดยประมาณ การคมนาคมสามารถใช้รถยนต์และรถจักรยานยนต์ในการสัญจรไปมา โดยทางหลวงหมายเลข 323 สภาพเส้นทางส่วนใหญ่ในพื้นที่แต่ละหมู่บ้านเป็นถนนลูกรัง และถนนนลาดยางเป็นบางหมู่ มีแม่น้ำแควน้อยไหลผ่านแบ่งตำบลออกเป็นสองฝั่ง คือด้านตะวันตกและด้านตะวันออก มีเนื้อที่ประมาณ 205 ตารางกิโลเมตร หรือ ประมาณ 128,125 ไร่
ลักษณะภูมิประเทศและภูมิอากาศ
ลักษณะภูมิประเทศของตำบลหินดาด มีพื้นที่เป็นเขาสลับซับซ้อนเป็นส่วนใหญ่ มีพื้นที่ราบตามแนวระหว่างภูเขาและพื้นที่ราบลุ่มระหว่างแม่น้ำแควน้อย ซึ่งไหลผ่านกลางระหว่างตำบล แบ่งตำบลออกเป็นสองฝั่ง ๆละ 4 หมู่บ้าน แยกเรียกตามทิศทางการขึ้นลงของดวงอาทิตย์ว่า หินดาดตะวันออกและหินดาดตะวันตก
ตำบลหินดาดมีพื้นที่ติดต่อกับตำบลใกล้เคียง ดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับ ตำบลท่าขนุน ตำบลสหกรณ์นิคม ตำบลชะแล อำเภอทองผาภูมิ
ทิศใต้ ติดต่อกับ ตำบลลิ่นถิ่น อำเภอทองผาภูมิ
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ตำบด่านแม่แฉลบ อำเภอศรีสวัสดิ์
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ตำบลห้วยเขย่ง อำเภอทองผาภูมิ
โดยแบ่งเป็น 3 ฤดูกาล ดังนี้
ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคม - เดือนพฤษภาคม
ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคม – เดือนตุลาคม
ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน – เดือนกุมภาพันธ์
การปกครอง
ตำบลหินดาดแบ่งเขตการปกครองเป็น 8 หมู่บ้าน ดังนี้
หมู่ที่ 1 บ้านวังหิน หมู่ที่ 5 บ้านหินดาดตะวันออก
หมู่ที่ 2 บ้านหม่องกะลา หมู่ที่ 6 บ้านกุยมั่ง
หมู่ที่ 3 บ้านหินดาดตะวันตก หมู่ที่ 7 บ้านดงโคร่ง
หมู่ที่ 4 บ้านหนองพลู หมู่ที่ 8 บ้านวังผาตาด
ประชากร
จากจำนวนประชากรตามทะเบียนราฏร์ในตำบลหินดาด อำเภอทองผาภูมิ ในปีพ.ศ. 2563
จำนวนประชากรทั้งหมด จำนวน 5,967 คน
การศึกษาและสาธารณสุข
ตำบลหินดาดเป็นตำบลขนาดกลาง มีโรงเรียนระดับประถมศึกษา จำนวน 4 แห่ง ซึ่งเพียงพอต่อการบริการของราษฎรในตำบลหินดาด
โดยมีโรงเรียนต่างๆ ดังนี้
ที่ | โรงเรียน | ที่ตั้ง | เปิดสอนระดับ | |
หมู่ที่ | บ้าน | |||
1 | วัดหินดาด | 3 | หินดาดตะวันตก | ประถมศึกษา |
2 | บ้านหินดาด | 5 | หินดาดตะวันออก | ประถมศึกษา |
3 | ดงโคร่ง | 7 | ดงโคร่ง | ประถมศึกษา |
4 | วังผาตาด | 8 | วังผาตาด | ประถมศึกษา |
นอกจากโรงเรียนประถมศึกษา ยังมีศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 1 ศูนย์ ได้แก่ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหม่องกะลา หมู่ที่ 2 ตำบลหินดาด
ระบบบริการสาธารณสุขของตำบลหินดาต มีสถานีอนามัยประจำตำบล/หมู่บ้าน จำนวน 2 แห่ง ได้แก่
ที่ | ชื่อสถานีอนามัย | ที่ตั้ง | พื้นที่ให้บริการ | บุคลากร(คน) | |
หมู่ที่ | บ้าน | ||||
1 | บ้านหินดาดตะวันตะวันตก | 4 | หนองพลู | หมู่ที่ 1,2,3,4 | 2 |
2 | บ้านกุยมั่ง | 7 | ดงโคร่ง | หมู่ที่ 5,6,7,8 | 2 |
นอกจากสถานีอนามัยประจำหมู่บ้านแล้วตำบลหินดาด ยังมีร้านขายยาแผนปัจจุบันจำนวน 1 แห่ง ซึ่งตั้งอยู่ในหมู่ที่5 บ้านหินดาดตะวันออก และยังมีอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) อยู่ทุกหมู่บ้าน เพื่อทำการเป็นผู้ช่วยของสาธารณสุขอีกส่วนหนึ่งด้วย
การคมนาคม
การคมนาคมติดต่อกันระหว่างตำบลกับอำเภอ รวมทั้งการคมนาคมไปจังหวัด มีทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 323 จำนวน 1 สาย มีถนนสายในหมุ่บ้านซึ่งก่อสร้างโดยสำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบท จำนวน 5 สาย คือ
สายบ้านหินดาตตะวันออก-บ้านดินโส ระยะทาง 3.2 กิโลเมตร
สายบ้านพุถ่อง-บ้านปรังกาสี ระยะทาง 6 กิโลเมตร
สายแยกน้ำพุร้อนหินดาด-บ้านวังผาตาด ระยะทาง 1 กิโลเมตร
สายบ้านหินดาดตะวันตก ระยะทาง 1 กิโลเมตร
สายบ้านวังหิน ระยะทาง 1.350 กิโลเมตร